เครือข่าย 'มังคุด' เมืองจันทบุรี ทีมผู้ผลิต 'ราชินีผลไม้' เกรดเอ
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 52
เครือข่าย 'มังคุด' เมืองจันทบุรี ทีมผู้ผลิต 'ราชินีผลไม้' เกรดเอ
มังคุด ผลไม้รสชาติอร่อยมากถูกปากถูกใจของใคร ๆ หลายคนหลายชาติหลายภาษาจนได้รับฉายาว่า “ราชินีแห่งผลไม้” นอกจากนำมารับประทานแล้ว ทุกวันนี้ยังมีการนำมังคุดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ กันมากขึ้น เช่น ทำเป็นน้ำมังคุด เปลือกมังคุดยังสามารถนำมาตากแห้ง จำหน่ายไปทำสมุนไพร ครีมทาแผลสด แผลเปื่อย ครีมบำรุงผิว ฉะนั้นจึงเห็นผลิตภัณฑ์สบู่จากเปลือกมังคุดในตลาด
ข้อมูลจาก
http://www.medplant.mahidol.ac.th/ บอกไว้ว่า สารสกัดน้ำต้มเปลือกผลมังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของอาการท้องเสียสารที่พบมากที่เปลือก คือ แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมานจึงช่วยแก้อาการท้องเสีย นอกจากนี้สารสกัดเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเกิดหนอง การใช้มังคุดรักษาแผล ให้เอาเปลือกมังคุดตากแห้งฝนกับน้ำปูนใส ใช้ทาแผลพุพอง แผลเน่าเปื่อย
มังคุดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี ปีที่ผ่านมามีเงินสะพัดจากผลไม้ชนิดนี้กว่า 2,240.15 ล้านบาท ปัจจุบัน จ.จันทบุรีมีพื้นที่เพาะปลูกมังคุด ประมาณ 136,957 ไร่ ซึ่งนายโอฬาร พิทักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บอกว่า ระยะ 2-3 ปีหลังนี้ ชาวสวนมังคุดยังต้องผจญปัญหาสินค้าล้นตลาดและราคาตกต่ำ เนื่องจากผลผลิตมีคุณภาพไม่ตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค โดยเกษตรกรสามารถผลิตมังคุดคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดต่างประเทศได้ เพียงร้อยละ 30 เท่านั้น ส่วนที่เหลือป้อนตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะช่วงกลางฤดูเก็บเกี่ยว ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนมิถุนายนจะมีผลผลิตออกมามากจนไม่สามารถระบายไปสู่ ผู้บริโภคได้ทันเวลา ส่วนใหญ่จึงต้องรีบขายผลผลิต แบบคละรวมโดยไม่มีการคัดเกรด ขณะที่การขนส่งสินค้าเพื่อนำไปจำหน่ายตามจังหวัดต่าง ๆ ไม่มีระบบการจัดการที่ดี ส่งผลให้สินค้าเกิดความเสีย หายและรับประทานได้เพียงบางส่วน
จากปัญหาดังกล่าว สำนักงานเกษตร จังหวัดจันทบุรี จึงจัดทำ “โครงการส่งเสริมการเพิ่ม มูลค่าสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ” โดยใช้แนวคิดและกระบวนการของเครือข่ายผู้ผลิตมาประยุกต์ใช้กับมังคุด มุ่งสร้างและพัฒนาความร่วมมือของกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับมังคุดทั้งระบบ ตั้งแต่เกษตรกร ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องและหน่วยงานสนับสนุนให้ร่วมมือกันในลักษณะของพันธมิตร เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพดี ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับผลผลิตมังคุด นับเป็นแนวทางช่วยแก้ไขปัญหาด้านการตลาดมังคุดในระยะยาวได้
เบื้องต้นได้สนับสนุนให้ชาวสวนมังคุดในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ท่าใหม่ มะขาม โป่งน้ำร้อน นายายอาม เขาคิชฌกูฏ และ ขลุง รวมกลุ่มสร้าง “เครือข่ายมังคุดจันทบุรี” ขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 15 กลุ่ม 1 ผู้ประกอบการ มีเกษตรกรสมาชิก จำนวน 290 ราย ขณะเดียวกันยังได้เร่งส่งเสริมให้เครือข่ายฯ มีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีด้านการผลิต ทั้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ภายในเครือข่าย และกลุ่มนอกเครือข่ายในจังหวัดและต่างจังหวัด (ระยอง ตราด) เพื่อช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตมังคุดของสมาชิก และลดต้นทุนการผลิต ให้ต่ำลงจากเดิมร้อยละ 15 ซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
ด้าน นางเริงจิตร พรหมสถิต เกษตร จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดฯยังได้ส่งเสริมให้เครือข่ายมังคุดจันทบุรีร่วมกันวางแผนการผลิตให้สอดรับกับด้านการตลาด ซึ่งปีนี้คาดว่าจะได้ผลผลิตรวมไม่น้อยกว่า 2,000 ตัน โดยกลุ่มตั้งเป้าร่วมกันพัฒนาการผลิตมังคุดคุณภาพเกรดส่งออก (มังคุดผิวมัน น้ำหนัก 70 กรัมขึ้นไป) ให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 30 เพิ่มเป็นร้อยละ 40 ในปี 2552 ร้อยละ 50 ในปี 2553 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 ในปี 2554 ทั้งยังวางแผนการผลิตให้มังคุดคุณภาพออกสู่ตลาดในช่วงเวลาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคด้วย
ส่วนด้านการตลาดนั้น กลุ่มเครือข่าย มังคุดได้มีแผนที่จะร่วมกันจำหน่ายผลผลิตของ กลุ่มภายใต้แบรนด์ “กลุ่มเครือข่ายมังคุดจันท บุรี” โดยมุ่งป้อนสินค้าให้ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
กลุ่มเครือข่ายมังคุดจันทบุรียังได้เตรียมแผนจัดแสดง และจำหน่ายผลผลิตของกลุ่มในหลายจังหวัด อาทิ สุพรรณบุรี กรุงเทพฯ ชลบุรี มุกดาหาร และนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง รวม ทั้งจัดโปรโมตสินค้าที่ประเทศกัมพูชาและญี่ปุ่นด้วย เพื่อประชาสัมพันธ์มังคุดคุณภาพดีให้เป็น ที่รู้จักของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น อนาคตคาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจากการส่งออกสินค้าคุณภาพ และช่วยลดช่องว่างปัญหาด้านการตลาดและราคาตกต่ำได้
ขนาด “มังคุด” ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้” ยังต้องพัฒนาเรื่องคุณภาพเพื่อสร้างจุดขายให้โดดเด่น ผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน ควรนำไปเป็นต้นแบบ ประยุกต์ใช้ในการผลิต เพื่อสร้างโอกาสให้ผลไม้เมืองร้อนของไทยโกอินเตอร์ฯ เพิ่มขึ้นและโกยเงินเข้าประเทศได้อย่างไร้คู่แข่ง.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 19 พฤษภาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=199398&NewsType=1&Template=1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า