จัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง ตั้งเป้าช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิต 1 ไร่ได้ 54 ตัน
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 52
จัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง ตั้งเป้าช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิต 1 ไร่ได้ 54 ตัน
"มันสำปะหลัง” เป็นสินค้าเกษตรที่มักประสบปัญหาการตลาดและราคาอยู่เนือง ๆ เนื่องจากเกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตพร้อมกัน ทำให้ตลาดรองรับ คือ ลานมัน และ โรงแป้ง ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคมของทุกปี ซึ่งรัฐบาลต้องเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อแก้ไขปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำมาโดยตลอด คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังดำเนินงานโครงการนำร่องส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลัง ตามมาตรการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่ เมื่อปี 2550 ในเขตพื้นที่ 5 อำเภอ ประกอบด้วย อ.ครบุรี อ.เสิงสาง จ.นครราช สีมา และ อ.โนนสุวรรณ อ.ปะคำ อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดระบบการผลิตให้สอดคล้องกับการตลาด สำหรับใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาว ที่ต้องการลดการแทรกแซงตลาดของรัฐ และปีนี้ยังได้ขยายการดำเนินงานไปยังเขตภาคเหนือตอนล่างในพื้นที่ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร และภาคตะวันออก อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว
กรมส่งเสริมการเกษตรจัดทำ โครงการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังตามมาตรการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่ ทั้ง 4 จังหวัด เพื่อเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร จากปัจจุบัน 3.8-4 ตัน/ไร่ เป็น 5 ตัน/ไร่ ภายในปี 2553
การเข้าร่วมโครงการนำร่องส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลัง ตามมาตรการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่ สำนักงานเกษตรอำเภอฯ ได้กำหนดรูปแบบการดำเนินงาน โดยคัดเลือกเกษตรกรใน 4 ตำบล ตำบลละ 3 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คน ให้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ต.วัง ชะพลู ต.บ่อถ้ำ ต.วังหามแห และ ต.ปางมะค่า สนับสนุนให้ทะเบียนผู้ร่วมโครงการปลูกมันสำปะหลัง โดยตั้งเป้าไว้จำนวน 5,728 ราย สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังในรูปแบบโรงเรียนเกษตรกรในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ การทำ 5 ต. ได้มันสำปะหลัง 5 ตัน ได้แก่ เตรียมดินที่ดีเตรียมพันธุ์ดี มีคุณภาพ เติมความสมบูรณ์ของดิน ตัดตอนวัชพืช และต้องขุดในช่วงอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เป็นต้น
ภายหลังจากวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและปัญหาการผลิตมันสำปะหลังของหมู่บ้านแล้ว จะนำข้อมูลที่ได้มากำหนดแนวทางแก้ไข และร่วมกับเกษตรกรจัดทำแปลงเรียนรู้ เมื่อได้แปลงเรียนรู้แล้วก็สร้างกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดทำเป็นหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนา มีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้แบบมีส่วนร่วม ณ จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างน้อย 4-6 ครั้งต่อปี ในรูปแบบของการประชุม อภิปราย และแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ร่วมกันระหว่างสมาชิกกลุ่มตามกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร เพื่อเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในไร่นาด้วย ตนเองตามกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน พอถึงฤดูการเก็บเกี่ยวก็จะนัดหมายให้เกษตรกรทั้งกลุ่มรวมทั้งเกษตรกรผู้สนใจ ร่วมกันวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อหาข้อสรุปการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับหมู่บ้านต่อไป
บุญเรือน ดวงอ่อน เกษตรกร หมู่ที่ 12 ต.วังชะพลู อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร เจ้าของแปลงสาธิตการไถระเบิดดินดาน กล่าวว่า ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 และพันธุ์ระยอง 9 พื้นที่ 10 ไร่ ภายหลังจากที่ไถระเบิดดินดานแล้วทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 4 ตัน/ไร่ เป็น 5 ตันกว่า/ไร่
ขณะที่ เทียบ กรรณีวงษ์ เกษตรกร หมู่ที่ 19 ต.วังชะพลู เจ้าของแปลงสาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7 พันธุ์ระยอง 9 และพันธุ์เขียวปลดหนี้ บอกว่า รู้สึกพอใจที่มีโครงการดังกล่าวเพราะทำให้ผลผลิตของตนเองเพิ่มขึ้น โดยพันธุ์ระยอง 7 ซึ่งปลูกใหม่ให้ผลผลิตได้ถึง 7 ตัน/ไร่ ส่วนพันธุ์เขียวปลดหนี้ซึ่งเป็นพันธุ์ใหม่ก็ดี ลักษณะหัวมันใหญ่ เปอร์เซ็นต์แป้งดี ให้น้ำหนักดีกว่าพันธุ์อื่น ๆ แต่ยังรู้สึกกังวลกับราคาโดยปีที่แล้วขายได้เพียง 1,400 บาท/ตัน เมื่อถามว่าราคาที่พอใจควรอยู่ที่เท่าไร เกษตรกรรายนี้ตอบว่า น่าจะอยู่ที่ 2,000-2,500 บาท/ตัน
ถามอีกว่าถ้าหากต้องปรับระบบการผลิตจริง ๆ แล้วเกษตรกรจะทำได้หรือไม่ “เทียบ” บอกว่า คงเป็นเรื่องยากเพราะเกษตรกรต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูงในการจ้างไถระเบิดดินดาน นอกจากนี้สภาพดินฟ้าอากาศก็มีส่วนสำคัญ แต่ถ้ามีตลาดรองรับแน่นอนโดยเฉพาะมีกระแสข่าวว่าจะมีการสร้างโรงงานผลิตเอทานอลในพื้นที่ แล้วนำมันสำปะหลังไปผลิตป้อนโรงงานก็คิดว่าคุ้มค่า
เกษตรกรสามารถผลิตได้โดยสู้ไม่ถอยอยู่แล้ว
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 12 มกราคม 2552
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=187612&NewsType=1&Template=1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า