เมื่อวันที่ 12 มกราคม 52
ศักราชใหม่ กับ รัฐบาลชุดใหม่ ที่ยังอยู่ในวังวนของปัญหาเก่าๆ เกี่ยวกับราคาผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมที่ตกต่ำโดยเฉพาะ “ยางพารา” ที่นับวันจะดำดิ่งลงทุกขณะ
ซึ่งก็มีการแนะนำให้เกษตรกรเพิ่มมูลค่า ด้วยการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำได้หลากหลายอาทิ ยางหุ้มราวสะพานกันกระแทก เสื้อเกราะกันกระสุน ถุงมือยาง เครื่องสำอาง (ครีมผิวขาว)
และที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันรวม คือการ เพนต์ (Painting) โดยมีวัสดุที่ใช้ประกอบมีหลายชนิด เช่น Clay Pigments และ Charcoal ซึ่งพบว่าปัจจัยร่วมเหล่านี้มี ความเป็นพิษ (Toxic) ทำให้ เกิดการแพ้ และล้างออกได้ยาก
เพื่อลดปัญหาจึงนำเอา Liquid latex ทำจากน้ำยางธรรมชาติ แล้วรักษาสภาพด้วยการเติมสารเคมี ซึ่งมีกลิ่นเหม็น หากเกษตรกร หรือ คนงาน ในโรงงานผลิต สูดดมมากๆ จะเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ และเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมต่อบรรยากาศของชุมชนที่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง
อีกทั้งน้ำยางดังกล่าวยังเป็นด่าง (pH ประมาณ 10) มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะสร้างความเสียหายแก่ภาคอุตสาหกรรม ที่สำคัญ หากนำมาใช้เพนต์ตามร่างกายอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง เป็นพิษอย่างมากต่อเซลล์ ที่ ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง เป็นการทำลายสุขภาพต่อเกษตรกรอีกด้วย
ฉะนี้...ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และ น.ส.อรพินท์ ชัยกำพลเลิศ และคณะจากกลุ่มนวัตกรรมน้ำยางธรรมชาติเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. จึงค้นคว้าวิจัย การเตรียมผลิตภัณฑ์แต่งแต้มสีสันจากน้ำยางธรรมชาติ (NR paint) ขึ้น
น.ส.อรพินท์ บอกว่า น้ำยางสดจากต้นกลิ่นจะหอม แต่หากไม่รักษาสภาพ เติมสารก็จะเน่าจับตัวภาย ในระยะเวลาแค่ 5-6 ชม. ทำให้ไม่สามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์อย่างอื่นได้ ชาวสวนจึงเติม แอมโมเนีย เพื่อ รักษาสภาพขณะที่ส่งผลผลิตเข้าโรงงาน แต่สารดังกล่าวมีความเป็นเบท เมื่อเก็บไว้ส่งผลให้โรงเรือนบุกร่อน โครงสร้างอาคารเป็นสนิม ทีมงานจึงคิดค้นหาสารตัวใหม่คือ แทบ (Tap) มาใช้แทนแอมโมเนีย
แทบ คือสารที่กลุ่มวิจัยสังเคราะห์ขึ้น เป็นสารส่วนประกอบคืออาร์มิโนแอซีส และ ตัวอื่นๆ ซึ่งการใส่สารดังกล่าวจะใช้ปริมาณเท่ากับแอมโมเนีย ทว่ามีต้นทุนสูงกว่าเพียง .50 บาท รักษาสภาพแวดล้อมไม่ระคายเคืองกับผิว
ทั้งนี้ จากการทดลองในด้านอายุการเก็บน้ำยางพบว่า น้ำยางสดที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นน้ำยางข้น เมื่อใส่สารดังกล่าวสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 45-90 วัน ปราศจากกลิ่น เป็นพิษต่ำ ไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง ฤทธิ์เป็นกลาง ทำให้เพิ่มขอบเขตการใช้งาน
อาทิ สามารถเติมกลิ่นต่างๆให้เข้ากับสีที่ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ มี ความปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความระคายเคืองในการใช้ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้ และเพิ่มความเชื่อมั่นในการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง ลดการสึกกร่อนของโลหะ ที่สำคัญยังสามารถขยายตลาดได้กว้างขึ้นอีกด้วย
ทีมวิจัยจึงได้นำสารสังเคราะห์จากแทบไปผสมในน้ำยาง ที่ส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมที่หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี พบว่าผู้ประกอบการต่างยอมรับ เนื่องจากไม่มีกลิ่นฉุนและยังไม่ส่งผลให้อาคารก่อสร้างเป็นสนิมเหมือนที่ ผ่านมา.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 12 มกราคม 2552
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=118737