เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 52
เคาะ ประตูแคมปัสวันนี้จะพาไปพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่ร้อนและแห้งแล้ง ดังนั้น โคนมที่เลี้ยงในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโคนมสายพันธุ์จากต่างประเทศ จึงไม่คุ้นเคยกับสภาพภูมิอากาศของเมืองไทย ส่งผลให้โคนมที่เลี้ยงในอีสานมีปริมาณน้ำนมน้อย ด้วยเหตุนี้ รศ.ดร.วิโรจน์ ภัทรจินดา ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงหันมาพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์โคนมเพื่อให้เหมาะกับการเลี้ยงในพื้นที่ภาค อีสาน โดยใช้ระยะเวลาในการพัฒนาสายพันธุ์กว่า 16 ปี จึงประสบความสำเร็จในการพัฒนาโคนมสายพันธุ์ใหม่ ภายใต้ชื่อโคนมทนร้อนมหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU101) โดยมีลักษณะเด่นคือ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศร้อน-ชื้น และสภาพการเลี้ยงแบบไทยๆ ที่มีคุณภาพอาหารค่อนข้างต่ำได้ นอกจากนี้ ยังมีลักษณะให้ผลผลิตน้ำนมสูง โดยให้น้ำนมเฉลี่ย 12 ก.ก./วัน หรือ 4,400 กิโลกรัม/ปี มีระยะการให้น้ำนมนานถึง 300 วัน และหากนำโคนมพันธุ์ดังกล่าวไปเลี้ยงในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเย็น โคจะตอบสนองต่อการกินอาหารและการให้น้ำนมที่สูงขึ้นถึง 15-18 กิโลกรัม/วัน หรือ 5,500-6,500 กิโลกรัม/ปี จึงนับได้ว่าโคนมทนร้อน KKU101 เป็นโคนมที่มีความสวยงาม ขนาดลำตัวเหมาะสม เลี้ยงง่ายและให้น้ำนมในเกณฑ์ดี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รศ.ดร.วิโรจน์ โทร. 0-4336-2006 หรือ 08-1872-0478
ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 16 มิถุนายน 2552
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROeVlXb3dOVEUyTURZMU1nPT0=§ionid=TURNek1RPT0=&day=TWpBd09TMHdOaTB4Tmc9PQ==