เมื่อวันที่ 14 มกราคม 52
จากแนวพระราชดำริในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการหาแนวทางที่จะทำอย่างไรให้ เกษตรกรไทยพ้นจากความยากจน มีอาชีพ และชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
เครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงจัดสร้าง โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรม ขึ้น 2 แห่ง ในพื้นที่บ้านหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา และหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาใช้เพื่อเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพเลี้ยงสุกร
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ บอกว่า สำหรับที่ตำบลเทพนคร และตำบลคณฑี อำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2521 ภายในเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในด้านการ จัดสรรที่ดินทำกิน อาทิ เลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก สร้างที่อยู่อาศัย โรงเรือนสำหรับเลี้ยงสุกร ทุนหมุนเวียน
พร้อมทั้ง นำความรู้ เทคนิค วิชาการสมัยใหม่ การเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก หาแหล่งตลาด รวมทั้ง นำ ระบบวางแผน จัดการอย่างครบวงจรมาใช้ ลดความเสี่ยงด้านราคาซื้อขาย ทำให้ทุกวันนี้เกษตรกรเหล่านั้น สามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง กระทั่งได้ชื่อว่าเป็น “หมู่บ้านสามัคคี เทคโนโลยีทันสมัย”
“ประเทศไทยยังเต็มไปด้วยโอกาส ที่จะพิสูจน์ได้ว่าเกษตรกรในบ้านเราไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าประเทศใด เพียงแต่ว่ายังขาดปัจจัยที่สำคัญคือ ความรู้ เทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก
ทุน อันเป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถก้าวไปสู่การใช้วิชาการแสวงหา ความรู้ และ ตลาดรองรับ ผล ผลิต ฉะนั้น เมื่อสามารถผนึกกำลังเกษตรกรได้ ก็จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสภาพพื้นที่ซึ่งเคยเสื่อม โทรมให้กลายเป็นแหล่งทำกิน เพื่อให้พวกเขามีอาชีพที่ยั่งยืนได้”
นายง้วง ศรีจันทร์ ประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร บอกว่า เดิมมีอาชีพรับจ้างทั่วไปหาเช้ากินค่ำ รายได้ไม่พอ ใช้ชีวิตแบบเป็นหนี้รอบข้าง ได้ยินว่ารับเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินเข้าโครงการเลี้ยงสุกรรุ่น สุกรพันธุ์จึงสมัครและได้รับคัดเลือกเข้ามาอยู่ ซึ่งได้ที่ดินทำกิน 25 ไร่ แบ่งปลูกบ้านพัก โรงเรือน
พร้อมทั้งเลือกเข้ากลุ่มสุกรพันธุ์ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 36 แม่ ช่วงแรกๆมีรายได้เฉลี่ย 2,000-2,500 บาท/เดือน ต่อมาจึงเพิ่มแม่หมู 80 แม่ เลี้ยงหมูขุน 500 ตัว เลี้ยงปลาดุก ปลูกผักกะเฉดน้ำ และช้อนแหนขาย ทุกวันนี้มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 30,000-40,000 บาท/เดือน
นอกจากนี้ ทางโครงการยังจัดพื้นที่ส่วนกลางให้ สมาชิกในหมู่บ้านทั้ง 64 ครัว เรือน มาร่วมกันทำงาน อาทิ ปลูกยาง ส้มโอ อ้อย ข้าว เลี้ยงปลา เปิดร้านค้าชุมชน เพื่อให้ มีรายได้ที่ขายผลผลิตมาพัฒนาถนน ไฟฟ้า น้ำประปา จัดกิจกรรมต่างๆในชุมชน
หลังโครงการดังกล่าวสำเร็จเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิดกำลังใจในการประกอบอาชีพ ทางโครงการจึงได้โอนที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้เป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละครอบครัว...
ที่เป็นเช่นนี้ด้วยเพราะมีความเชื่อว่า หากครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง ก็จะสามารถนำพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจได้อย่างแน่นอน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 14 มกราคม 2552
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=119034