ระบบเตือนภัยและจัดการศัตรู 'ข้าว' เพิ่มประสิทธิภาพผลิตข้าวสู่ตลาดโลก
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 52
ระบบเตือนภัยและจัดการศัตรู 'ข้าว' เพิ่มประสิทธิภาพผลิตข้าวสู่ตลาดโลก
แม้ว่าข้าวไทยจะได้รับการยอมรับและเป็น ที่รู้จักอย่างแพร่หลายในตลาดโลก แต่ปัญหาในการผลิตข้าวของชาวนาไทยที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่า หลายพื้นที่ที่มีปัญหาจากภัยธรรมชาติและการระบาดของศัตรูข้าวเกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่องทุกปี ในภูมิภาคต่าง ๆ เนื่องจากเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการสำรวจ วินิจฉัยสถานการณ์ธรรมชาติและการบริหาร ศัตรูข้าวที่ถูกต้อง
ดังนั้น กรมการข้าว ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลในเรื่องข้าวของประเทศไทย จึงได้จัดทำ
โครงการพัฒนาระบบเตือนภัยธรรมชาติและการบริหารศัตรูข้าวขึ้น ซึ่งในปี 2552 นี้ กรมการข้าวจัดให้มีการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เรื่อง การเตือนภัยธรรมชาติและการบริหารจัดการศัตรูข้าวให้แก่ชาวนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าวให้กับกลุ่มชาวนาชั้นนำและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ให้มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการสำรวจวินิจฉัยรายงาน สถานการณ์ศัตรูข้าวและภัยธรรมชาติ และมีความสามารถในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว และภัยธรรมชาติแก่เกษตรกรที่สนใจในชุมชนให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับการถ่าย ทอดหรือฝึกอบรมไปใช้ในการบริหารจัดการการผลิตข้าวของตนเองให้ได้คุณภาพ
นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าวได้จัดสร้างระบบสารสนเทศการพยากรณ์ เตือนภัยธรรมชาติและการ ระบาดศัตรูข้าวและเป็นศูนย์กลาง ปฏิบัติการติดตามสถานการณ์ข้าว โดยมีคณะกรรมการ คณะทำงาน รวบรวมข้อมูลรายงานการสำรวจ ติดตามสถานการณ์ วิเคราะห์ ประมวลผลเพื่อการพยากรณ์เตือนภัยธรรมชาติและการระบาดของศัตรูข้าวจากศูนย์ บริการชาวนาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยทำให้ทราบถึงข้อมูลปัญหาสำคัญที่ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหาย อันประกอบด้วย ภัยธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง ภัยหนาว มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ คน สภาพพื้นที่ที่ทำการเกษตรระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมสูญเสียไป และก่อให้เกิดปัญหาสำคัญตามมาคือ การแพร่ระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าว ซึ่งมีปัจจัยหลักได้แก่ ปัจจัยภายในที่เกิดจากพันธุ์ข้าว อายุข้าว พื้นที่เพาะปลูกข้าว และวิธีการปลูกเช่นการหว่านน้ำตมอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวสูงเกินความจำ เป็นและการใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราสูง และไม่ถูกวิธีล้วนเป็นการกระตุ้นให้เกิดการทำลายระบบนิเวศในแปลงนาและเสีย ความสมดุลของสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกได้แก่ สภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน
ดังนั้นการพยากรณ์เตือนภัยก่อนที่จะเกิดภัยธรรมชาติและการระบาดของศัตรูข้าว จึงมีความสำคัญและต้องพัฒนาระบบการเตือนภัยธรรมชาติและการบริหารศัตรู ข้าวอย่างต่อเนื่อง และเกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน และป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตของชาวนา ช่วยประหยัดงบประมาณ โดยกรมการข้าวได้มีการสร้างเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน 140 ศูนย์โดยชาวนาชั้นนำ 280 คน และเกษตรตำบล 140 คน และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 28 คนให้เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วใน 28 จังหวัด ในระดับพื้นที่เพื่อสำรวจ เฝ้าระวัง ติตตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รายงาน ประกาศ เตือนภัยธรรมชาติและการระบาดของศัตรูข้าว พร้อมให้คำแนะนำ ส่งเสริมองค์ความรู้ให้ชาวนาทั่วไปให้มีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติ เพื่อป้องกันการเกิดภัยธรรมชาติและการระบาดศัตรูข้าวได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่
โดยผลการจัดทำแปลงสำรวจ เฝ้าระวังศัตรูข้าวที่ผ่านมาพบว่า โรคข้าวที่เกิดส่วนใหญ่ได้แก่โรคไหม้ พบมากในนาน้ำฝน นาข้าวพันธุ์พื้นเมือง ส่วนใหญ่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ โรคเมล็ดด่าง พบว่าสามารถแพร่ระบาดกระจายไปกับลมและในยุ้งฉาง และโรคขอบใบแห้งพบมากในนาน้ำฝน นาชลประทานภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ส่วนแมลงศัตรูข้าวได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงบั่ว และแมลงหล่า
ส่วนภัยธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อข้าว ได้แก่ ภัยหนาว ซึ่งหากพบว่าอุณหภูมิต่ำระหว่าง 15-20 องศาเซลเซียสนานติดต่อ 10-14 วันจะมีผลกระทบต่อต้นข้าว ผลผลิตลดลง ซึ่งพื้นที่พึงระวังเช่นภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอใส่ปุ๋ยในระยะอากาศเริ่มอบอุ่นและ ควรหมั่นตรวจสอบแปลงนาและป้องกันโรคเมล็ดด่าง โรคใบจุดสีน้ำตาล ส่วนการเตือนภัยน้ำท่วมจะเกิดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม แต่ละปีมีชาวนาเดือดร้อนจากอุทกภัยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูพื้นที่ปลูกข้าวหลังน้ำท่วม ไม่ต้องเร่งใส่ปุ๋ยปริมาณมากเพราะจะทำให้มีโรคเพิ่ม
นอกจากการเฝ้าระวังและป้องกันโรคและแมลงศัตรูข้าว รวมทั้งภัยธรรมชาติแล้ว เกษตรกรชาวนาต้องติดตามการพยากรณ์อากาศ ประกอบกับการปฏิบัติ ดูแลผลผลิตข้าวมิให้เสียหาย การคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต ซึ่งต้องมีความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเกษตรกรสามารถพัฒนาการบริหารจัดการการเตือนภัยธรรมชาติและการระบาดศัตรู ข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบในด้านความเสียหายให้กับผลผลิตข้าวของเกษตรกรต่อไป ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2561-3220 และ E-mail:
[email protected] ในวันและเวลาราชการ.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 6 กรกฎาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=6605
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า