เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 52
นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ศูนย์ปฏิบัติการติดตามสถานการณ์ข้าว กรมการข้าว ได้รายงานถึงสถานการณ์ศัตรูข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าจำนวนเพลี้ย จักจั่นสีเขียวที่นับจากกับดักแสงไฟในศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีเพิ่มขึ้น ถึงแม้จะเป็นจำนวนที่ยังไม่มาก แต่ก็ควรที่จะระวังดังนั้นเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดใกล้ เคียงควรเฝ้าระวังการเพิ่มขึ้นของเพลี้ยจักจั่นสีเขียวในแปลงนา ซึ่งหากเกิดการระบาดขึ้นจะสร้างความเสียหายให้กับแปลงนาข้าวเป็นอย่างมาก เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (green rice leafhopper) ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวอาจทำให้ข้าวแห้งตาย (hopperburn) นอกจากนั้น ยังเป็นเมลงพาหะของโรคไวรัสใบสีส้ม
อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า เกษตรกรควรหมั่นตรวจแมลงที่โคนข้าวหากพบเพลี้ยจักจั่นสี เขียว 10 ตัว ต่อกอ(10 ต้น)ควรควบคุมด้วยสารฆ่าแมลงตามคำแนะนำ คือ บูโพรเฟซิน(แอพพลอด) เพื่อป้องกันการลอกคราบของแมลงหากพบส่วนใหญ่เป็นตัวอ่อน หรืออีโทเฟนพร็อกซ์(ทรีบอน) หรือ คาร์โบซัลแฟน(พอสซ์) หรือฟีโนบูคาร์บ(บีพีเอ็มซี)และหลีกเลี่ยงการใช้สารสารกลุ่มไพรีทรอยด์ สังเคราะห์ เช่น แอลฟาไซเพอร์มิทรินไซเพอร์มิทริน ไซแฮโลทริน เดคาเมทริน เอสเฟนแวเลอเรต เพอร์มิทริน ไตรอะโซฟอสไซยาโนเฟนฟอส ไอโซซาไทออน ไฟริดาเฟนไทออน ควินาลฟอส และ เตตระคลอร์วินฟอสซึ่งสารกลุ่มนี้จะทำลายศัตรูธรรมชาติจะเป็นผลให้เป็นการ เร่งการระบาดของเพลี้ยจักจั่นสีเขียว และเพลี้ยกระโดดอื่นๆ
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 13 กรกฎาคม 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=169920