หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน
การปลูกมันพื้นบ้าน-มันป่าเชิงพาณิชย์
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 52
การปลูกมันพื้นบ้าน-มันป่าเชิงพาณิชย์
ปัจจุบันมันพื้นบ้านหรือมันป่าของไทยได้รับความสนใจจากผู้บริโภคที่รักสุขภาพมากขึ้นในทางวิทยาศาสตร์ได้มีการวิเคราะห์พบว่า มีสารหลายชนิดที่อยู่ในมันพื้นบ้านมีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์มากมายที่เห็นชัดเป็นรูปธรรมและวงการแพทย์ทั่วโลกต่างยอมรับก็คือ มีสรรพคุณในการรักษาระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนของสตรีวัยหมดประจำเดือน นอกจากนั้นในพื้นบ้านยังอุดมไปด้วยธาตุแคลเซียม, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, วิตามินซีและกรดโฟลิก เป็นต้น มันพื้นบ้านจัดเป็นอาหารที่อยู่คู่คนไทยมานาน แต่คนไทยในชนบทส่วนใหญ่จะบริโภคมันพื้นบ้านที่ขุดขึ้นมาจากธรรมชาติหรือปลูกแซมในสวนหลังบ้าน ไม่ได้มีการพัฒนารูปแบบการปลูกในเชิงพาณิชย์ ทั้ง ๆ ที่ในปัจจุบันมันพื้นบ้านจัดเป็นของหายากและมีราคาซื้อ-ขายสูงมาก มีราคาแพงกว่ามันเทศและมันฝรั่งด้วยซ้ำไป เช่น มันอ้อนและมันนก ที่เนื้อมีความเหนียวและรสชาติอร่อยมาก ราคาขายถึงผู้บริโภคเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50 บาท
ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้มีการรวบรวมสายพันธุ์มันพื้นบ้านของไทยและได้เริ่มทดลองปลูกในเชิงพาณิชย์ ผลปรากฏว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง จากการทดลองปลูกมันอ้อนและมันเลือดพบว่าปลูกไปได้เพียง 7-8 เดือน สามารถขุดมันขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภคได้ ได้หัวมันที่มีรสชาติและคุณภาพไม่แตกต่างจากที่ขุดจากธรรมชาติ พบข้อดีว่าเมื่อมีการจัดการเรื่องการให้น้ำและปรับปรุงคุณภาพด้วยปุ๋ยเคมีได้ผลผลิตดกขึ้น ที่สำคัญสามารถปลูกในระบบอินทรีย์หรือผลิตแบบปลอดสารพิษได้ ในการเตรียมต้นพันธุ์มันพื้นบ้านก่อนปลูกจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามันพื้นบ้านเกือบทุกชนิดจะต้องขยายพันธุ์ด้วยหัว (มันเทศจะขยายพันธุ์ด้วยยอด) ยกตัว
อย่างในการขยายพันธุ์มันอ้อนจะใช้หัวพันธุ์เล็ก ๆ ที่มีความสมบูรณ์ไปแช่น้ำประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นนำหัวมันไปแช่ในสารป้องกันและกำจัดแมลง, เชื้อราและฮอร์โมนเร่งรากนานประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นนำหัวพันธุ์มันมาผึ่งลมให้แห้งและนำไปชำลงในถุงชำดำขนาด 3x7นิ้ว วัสดุที่ใช้ชำหัวมันแนะนำให้ใช้ ขี้เถ้าแกลบ:ดินร่วน:ทรายหยาบ สัดส่วน 1:1:1 กลบหัวมันให้มิดหัวพอดีและนำไปไว้ในโรงเรือนที่มีตาข่ายพรางแสงประมาณ 50% รดน้ำเช้าหรือเย็นเพียงวันละครั้ง หมั่นสังเกตอย่าให้วัสดุในถุงชำแห้ง หลังจากชำหัวมันไปนานประมาณ 45 วัน จะสังเกตมีการแตกยอดนำไปปลูกลงแปลงได้
ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกมันพื้นบ้านได้ประมาณ 2,000 หลัก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างต้นเฉลี่ย 75 เซนติเมตรและระยะระหว่างแถว 1 เมตร นำต้นกล้าลงปลูกและกลบดินให้แน่นหลังจากนั้นให้นำไม้ไผ่ลวกขนาดกลางหรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำเฉลี่ย 0.5-1 นิ้ว และไม้ไผ่มีความยาวเฉลี่ย 2-2.5 เมตร เสี้ยมปลายไม้ให้แหลมและปักลงไปข้างต้นมันพื้นบ้านให้ห่างจากต้นมันประมาณ 10-15 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นมันเลื้อยขึ้นไป
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 19 มกราคม 2552
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=188254&NewsType=1&Template=1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า