จาก 'ใต้' สู่ 'อีสาน' คาราวานผลไม้ช่วยเกษตรกร
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 52
จาก 'ใต้' สู่ 'อีสาน' คาราวานผลไม้ช่วยเกษตรกร
ภาคใต้ถือเป็นแหล่งผลิตผลไม้เศรษฐกิจสำคัญของไทย ทั้งทุเรียน เงาะ มังคุด และ ลองกอง โดยเฉพาะช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณมากที่สุด ซึ่งปี 2552 นี้ คาดการณ์ว่าจะมีผลไม้ 4 ชนิด ออกสู่ตลาดรวมทั้งสิ้น 677,548 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ร้อยละ 48.78 แยกเป็น ทุเรียน ปริมาณ 273,796 ตัน มังคุด ปริมาณ 167,051 ตัน เงาะ ปริมาณ 119,190 ตัน และลองกอง ปริมาณ 117,511 ตัน โดยประมาณร้อยละ 75.25 ของผลผลิตทั้งหมดจะเป็นไปตามกลไกตลาดปกติ ส่วนอีกร้อยละ 24.75 ภาครัฐจะต้องเข้าไปช่วยบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว เพื่อให้กลไกตลาดขับเคลื่อนไปได้โดยไม่เกิดผลกระทบในด้านราคาจนเป็นปัญหาแก่ เกษตรกร
นายโอฬาร พิทักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า นอกจากคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้จะใช้มาตรการบริหารจัดการคุณภาพ ผลผลิต และมาตรการเร่งรัดกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตในการบริหารจัดการผลผลิตผลไม้ ในภาคใต้ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และช่วยป้องกันปัญหาสินค้าราคาตกต่ำแล้ว ยังได้ใช้มาตรการส่งเสริมการตลาดและบริโภคผลไม้ เพื่อช่วยขยายช่องทางการตลาดเพิ่มเติมซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วย บรรเทาปัญหาผลผลิตล้นตลาดได้ โดยมีเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 81,010 ตัน
สำหรับมาตรการส่งเสริมการตลาดและบริโภคผลไม้ภาคใต้นั้น กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการจัดงาน “คาราวานผลไม้ภาคใต้สู่ประตูอีสาน ปี 2552” ขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 สิงหาคมนี้ ที่บริเวณหน้าศาลากลาง จ.นครราชสีมา โดยเฉพาะ จ.นครราชสีมา ถือเป็นประตูสู่ภาคอีสาน เป็นฮับ หรือจุดศูนย์กลางที่จะช่วยกระจายผลผลิตผลไม้จากพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ที่มีผลผลิตทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกองกระจุกตัวมากออกนอกแหล่งผลิตไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้
ขณะเดียวกันยังเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้บริโภคที่อยู่นอกแหล่งผลิตผลไม้ดังกล่าว มีโอกาสได้บริโภคผลไม้คุณภาพดีในราคายุติธรรมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะมีพ่อค้า ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมาเข้าร่วมงานกว่า 10,000 คน ที่สำคัญยังจะสามารถช่วยระบายผลไม้จากภาคใต้ได้ไม่น้อยกว่า 100 ตัน
ผลไม้ภาคใต้ที่จะออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นมากในปีนี้ คือ มังคุด เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ร้อยละ 165.64 และลองกอง เพิ่มขึ้นร้อยละ 239.53 ซึ่งหากไม่เร่งระบายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศอย่างรวด เร็ว จะทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาสินค้าล้นตลาดและราคาตกต่ำ ผลผลิตเน่าเสียและขาดทุนได้โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อาจอยู่ไม่รอด
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวอีกว่า ปัจจุบันผลผลิตผลไม้จากภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ออกสู่ตลาดแล้ว 355,342.7 ตัน คิดเป็นร้อยละ 71.9 คงเหลือที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว 139,136.4 ตัน คิดเป็นร้อยละ 28.1 แยกเป็น ทุเรียน ร้อยละ 31.0 เงาะ ร้อยละ 21.2 มังคุดร้อยละ 21.9 และลองกอง ร้อยละ 45.9 ส่วน ผลไม้จากจังหวัดชายแดนภาคใต้ออกสู่ตลาดแล้ว 100,811.3 ตัน คิดเป็นร้อยละ 66 คงเหลือที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว 51,847.7 ตัน คิดเป็นร้อยละ 34 แบ่งเป็น ทุเรียน ร้อยละ 33.9 เงาะ ร้อยละ 12.5 มังคุด ร้อยละ 16.1 และ ลองกอง ร้อยละ 66.4 อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผลไม้ออกสู่ตลาดกระจุกตัวมากนี้ คาดว่า เกษตรกรชาวสวนผลไม้จะขายผลผลิตได้ราคาไม่ต่ำกว่าต้นทุน และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่ราคาไม่ตกต่ำในช่วงพีก เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 1 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 542.50 ล้านบาท
ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยทั้งประเทศให้ช่วยกันบริโภคผลไม้ไทยที่มีทุกฤดูกาล ตลอดปี ทั้งยังมีคุณภาพดีและราคาถูกด้วย นอกจากจะช่วยกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นและชุมชนแล้ว ยังได้ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนผลไม้ให้อยู่รอดผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปได้ และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของชาติให้กระเตื้องขึ้นด้วย.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 24 สิงหาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=15787
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า