บูรณาการนิคมการเกษตรข้าว
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 52
บูรณาการนิคมการเกษตรข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้มีโครงการนำร่องนิคมการเกษตรพืชอาหารและพลังงานโดยคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมการผลิตข้าวในจังหวัด ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี นครปฐมและนครศรีธรรมราช กำหนดให้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการการผลิตแบบครบวงจร มุ่งหวังให้เกษตรกรได้รับการเรียนรู้การเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต
ทั้งนี้เนื่องจากกรมการข้าวเป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ดูแลงานวิจัย การพัฒนาและส่งเสริมการผลิตข้าวและชาวนา ทำหน้าที่สนับสนุนด้านวิชาการให้การดำเนินงานพัฒนาการผลิตข้าวในพื้นที่นิคม การเกษตรเกษตรข้าวทั้ง 6 นิคมใน 6 จังหวัดที่กล่าวมาข้างต้น ได้กำหนดแนวทางการพัฒนานิคมการเกษตรข้าวให้ต้นแบบแห่งการพัฒนาการผลิตข้าว และชาวนาไทย โดยมีหลักการพัฒนาการสร้างนิคมการเกษตรข้าวอย่างเป็นระบบแบบองค์รวม ใช้เทคโนโลยีเฉพาะพื้นที่ แบบผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ ๆ กับ ภูมิปัญญาชาวบ้าน เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในชุมชน การเข้าร่วมโครงการเกิดจากความสมัครใจ สร้างระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ยั่งยืนสนับสนุนการทำงานเชิงบูรณาการภาครัฐ
และในปี 2552 ทางกรมการข้าวได้วางเป้าหมายการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมนับตั้งแต่ การเตรียมความพร้อมของชุมชนโดย สร้างองค์กรชาวนาให้เข้มแข็งผ่านกระบวนการดำเนินงานศูนย์ข้าวชุมชน พัฒนาคุณภาพผลผลิตข้าวมาตรฐาน 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวอินทรีย์มาตรฐาน ข้าวขาวดอกมะลิ มาตรฐานระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์ม โดยพิจารณาตั้งแต่พื้นที่การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยว และ ข้าวขาวมาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวเพิ่มผลผลิตต่อไร่และลดต้นทุนการผลิต โดยมี นโยบายการบูรณาการแผนงานกิจกรรมลงพื้นที่นิคมการเกษตรข้าวทั้ง 6 นิคม ประกอบด้วย การส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าว การแก้ไขปัญหาการระบาดของข้าววัชพืชแบบบูรณาการ พัฒนาการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี (ศูนย์ข้าวชุมชน) และการฟื้นฟูการผลิตข้าวในเขตนิคมการเกษตรลุ่มน้ำปากพนัง
รายงานข่าวจากกรมการข้าวแจ้งเข้ามาว่าที่ผ่านมามีการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาและเตรียมความพร้อม โดยร่วมบูรณาการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นิคมการเกษตรข้าว การจัดทำคำแนะนำการผลิตข้าวเฉพาะพื้นที่ในนิคมการเกษตรข้าว 6 แห่ง การจัดเวทีชุมชนและชี้แจงผู้ร่วมโครงการ 12 ครั้ง นำชาวนาดูงานศูนย์ข้าวชุมชนและกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ดีนำเกษตรกรแกนนำดูงานศูนย์ข้าวชุมชนเข้มแข็ง 3 ครั้ง จำนวน 120 คน
มีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวในนิคมการเกษตรข้าว ด้วยการส่งเสริมการใช้พันธุ์ดี แลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าว ให้สมาชิกนิคมการเกษตรข้าวมีเมล็ดพันธุ์ดีใช้จำนวน 214 ตันพื้นที่ 20,000 ไร่ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตข้าวแปลงเรียนรู้การลดต้นทุน 6 แปลง จำนวน 120 ไร่ รณรงค์การแก้ปัญหาการระบาดของข้าววัชพืชแบบบูรณาการแปลงเรียนรู้แก้ไขปัญหา ข้าววัชพืช 6 แปลง จำนวน 120 ไร่ ส่งเสริมให้ยุวชนร่วมกิจกรรมการทำนานำยุวชนร่วมเรียนรู้กิจกรรมทำนา จำนวน 6 ครั้ง จำนวน 400 คน
และการจัดงานรณรงค์สาธิตเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าวและการป้องกันกำจัดข้าววัชพืชในนิคมการเกษตร 6 ครั้ง เกษตรกรเข้าร่วมงานจำนวน 3,500 คนเป็นต้น.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 8 ตุลาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=340&contentID=24683
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า