หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน
แมลงนูนหลวงระบาด ทำลายพืชไร่อ้อย-มัน
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 52
แมลงนูนหลวงระบาด ทำลายพืชไร่อ้อย-มัน
เมื่อวันที่ 10 ต.ค. นายสุพจน์ แสงประทุม ผอ.สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 ราชบุรี กล่าวว่า จากการสำรวจและติดตามพื้นที่ปลูกอ้อยในเขตภาคตะวันตก พบการแพร่ระบาดของแมลงนูนหลวงในพื้นที่ อ.จอมบึง จ.ราชบุรี มีพื้นที่ประสบภัย 26,550 ไร่ โดยคาดว่าจะเสียหาย 13,275 ไร่ จึงขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังแมลงนูนหลวงชนิดนี้ด้วย
สำหรับแมลงนูนหลวงเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของอ้อยและมันสำปะหลัง พบการระบาดในสภาพดินทรายโดยจะทำลายอ้อยเป็นหย่อม ๆ ไม่แพร่กระจายทั้งไร่ และจะแพร่ระบาดมากในพื้นที่ดอนและอ้อยกอใดที่ถูกหนอนเข้าทำลายเพียง 1 ตัว ก็จะทำให้อ้อยกอนั้นตายไปทั้งกอได้ หรือถ้าไม่ตายก็จะทำให้ผลผลิตลดลงมากจนเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ผอ.สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรฯ เผยอีกว่า การทำลายของแมลงนูนหลวงนั้นจะเข้าไปกัดกินรากอ้อยเป็นอาหาร กออ้อยจะมีอาการคล้ายกับว่าเป็นผลเนื่องจากความแห้งแล้ง คือใบอ้อยมีสีเหลือง ต่อมาใบอ้อยจะแห้งตายมากผิดปกติจนในที่สุดกออ้อยจะแห้งตายทั้งกอ โดยกออ้อยที่ถูกหนอนเข้าทำลายจะดึงออกมาจากพื้นดินได้ง่าย เนื่องจากรากถูกทำลายหมดแล้ว โดย
แมลงนูนหลวงมีลักษณะเหมือนหนอนทั่วไป ลำตัวสีขาวนวล ตัวเป็นรูปโค้ง 6-7 ซม. กว้าง 2-2.5 ซม. ปากมีเขี้ยวแข็ง ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดใหญ่ ท้ายของปีกมีจุดสีขาวด้านละจุด เพศผู้มีสีน้ำตาลดำตลอดตัว เพศเมียมีสีน้ำตาลปนเทา จะวางไข่แล้วฟักเป็นตัวหนอนใต้กออ้อยลึกในดิน 20 ซม. ระยะตัวหนอน 8-9 เดือนจะเจริญเติบโตเร็ว กัดกินรากอ้อยและรากมันสำปะหลังเป็นอาหาร
นายสุพจน์ กล่าวต่อว่า
แนวทางการป้องกันการระบาดนั้น 1.ให้ตัดวงจรของแมลงนูนหลวงด้วยการจับตัวเต็มวัยโดยใช้แสงไฟล่อ 2.ปรับสภาพดินให้มีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นรวมทั้งการไถพรวนดินหลาย ๆ ครั้งแล้ว เก็บตัวหนอนเพื่อทำลาย 3.ใช้เชื้อราเมตาไรเซียมควบคุม โดยใส่ไปพร้อมท่อนพันธุ์ขณะปลูกหรือคลุกลงในพื้นดิน และ 4.หากมีการระบาดมากแนะนำให้ใช้สารเคมีฟีโปรนิล 5% อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตามร่องอ้อยในระยะที่ตัวหนอนเริ่มฟักออกไข่ ทั้งนี้ในการป้องกันการระบาดของแมลงนูนหลวงได้ประสานงานกับศูนย์บริหารศัตรูพืช จ.สุพรรณบุรี เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ตามความ เหมาะสมแล้ว.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 13 ตุลาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=25553
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า