งานแสดงสินค้าผักและผลไม้ ระดับเอเชีย ปี ค.ศ.2009
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 52
งานแสดงสินค้าผักและผลไม้ ระดับเอเชีย ปี ค.ศ.2009
หลายคนอาจจะมองว่าการจัดงานแสดงสินค้าการตลาดผักและผลไม้ระดับเอเชียมีความสำคัญต่ออาชีพชาวสวนผักและผลไม้ไทยอย่างไร? งานแสดงสินค้าการตลาดผักและผลไม้ระดับเอเชีย ครั้งที่ 3 ปี ค.ศ.2009 โดยมีฮ่องกงเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา
เมื่อเข้าไปชมภายในงานได้เห็นว่าแต่ละประเทศที่มาจัดแสดงสินค้านั้นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผักและผลไม้ของประเทศตนเอง มีการนำผักและผลไม้ที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมมานำเสนอเพื่อให้มีการค้าขายต่อกันในอนาคต
ประเทศออสเตร เลีย, ไต้หวัน, แอฟริกาใต้, สหรัฐอเมริกา, สาธารณ รัฐประชาชนจีน และอีกหลายประเทศจากทั่วทุกมุมโลก แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านของเราก็คือ มาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยเฉพาะบูธของอินโดนีเซียมีคนให้ความสนใจมาก มีการแนะนำผลไม้เด่นของประเทศ คือ “สาลัค” ที่จัดเป็นผลไม้เก่าแก่ของอินโดนีเซีย ลักษณะคล้ายสละหรือระกำที่ปลูกในบ้านเรา แต่ “สาลัค” เนื้อจะมีความหวานและกรอบ เนื้อแห้งปอกเปลือกง่ายไม่เปื้อนมือ จัดเป็นผลไม้แปลกและหายากที่อร่อยมากชนิดหนึ่ง จากข้อมูลการปลูกสาลัคในประเทศอินโดนีเซีย มีเกษตรกรถึง 1,672 ราย ที่สามารถผลิตสาลัคเพื่อการส่งออก ที่ผ่านมาตรฐานเกษตรกรดีที่เหมาะสม โดยมีผล ผลิตสู่ตลาดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม ปัจจุบันผลิตได้ปีละเฉลี่ย 5 ล้านตัน
ผลไม้ของออสเตรเลียที่นำมาแสดงในครั้งนี้มีหลายชนิด ที่เห็นว่าโดดเด่นมากลำดับแรกก็คือ “อโวกาโด” มีข้อมูลว่าประเทศ ออสเตรเลียมีกำลังการผลิตอโวกาโดในปัจจุบันออกสู่ตลาดมากกว่า 5,000 ตันต่อปี พื้นที่ปลูกมากกระจายอยู่ในหลายมลรัฐ เช่น รัฐควีนส์แลนด์, นิวเซาท์เวลส์ ฯลฯ สาย พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดคือ พันธุ์แฮส ซึ่งมีประมาณ 65% ของพื้นที่ปลูกอโวกาโดทั้งหมดเนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตออก สู่ตลาดได้ตลอดทั้งปีและเป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคกันทั่วโลก อโวกาโดจัดเป็นผลไม้สุขภาพที่มีประโยชน์มากที่สุดชนิดหนึ่ง แต่ประเทศไทยยังมีการขยายพื้นที่ปลูกอโวกาโดไม่มากนัก
สำหรับพื้นที่การปลูกมะม่วงของออสเตรเลียจะเน้นอยู่เพียง 2 สายพันธุ์ คือ เคนซิงตันไพรส์ เป็นสายพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดและเป็นสายพันธุ์หลักของประเทศ และสายพันธุ์มะม่วงที่มีพื้นที่ปลูก รองลงมาคือ “อาร์ทูอีทู” โดยผลผลิตมะม่วง ทั้ง 2 สายพันธุ์ของออสเตรเลียจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 30 ตุลาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=482&contentID=28944
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า