ยุทธศาสตร์ความปลอดภัยสินค้าเกษตรฯ ระยะที่ 2
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 52
ยุทธศาสตร์ความปลอดภัยสินค้าเกษตรฯ ระยะที่ 2
ปี2553 กระทรวงเกษตรฯได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 1,600 ล้านบาท เพื่อต่อยอดยุทธศาสตร์มาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหารปี 2553-2555 โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานใหม่ คือ “สร้างมาตรฐานและความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อคนไทยและตลาดโลก” มุ่งขยายผลการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรไทยให้เป็นแหล่งอาหารของ โลกที่ปลอดภัย เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงด้านอาหารอย่างแท้จริง ทั้งด้านการมีอาหารอย่างเพียงพอและมีมาตรฐานและความปลอดภัย ภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
เบื้องต้นได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันทบทวนและปรับปรุงแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ฯให้สอดคล้องกับสถานการณ์การผลิตและการค้าของโลกซึ่งเน้นให้ความสำคัญเรื่องมาตรฐาน
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล ผอ.สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวถึงรายละเอียด 5 ยุทธศาสตร์หลักว่า ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์พัฒนาสินค้าเกษตรคุณภาพรายสินค้าพืช ประมง ปศุสัตว์ มุ่งสร้างต้นแบบเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิต เพื่อให้มีแหล่งวัตถุดิบ/ผลผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐานป้อนตลาด พร้อมสร้างความแน่นอนด้านตลาดสำหรับสินค้าเป้าหมาย อาทิ พริก และวัตถุดิบเครื่องแกงอื่น ๆ เป็นต้น
ยุทธศาสตร์สนับสนุนผู้ผลิตเข้าสู่ระบบมาตรฐาน เพื่อเพิ่มจำนวนฟาร์มมาตรฐานจีเอพี ที่ได้รับการรับรองให้มากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยจะมีโอกาสเข้าสู่ระบบมาตรฐานจีเอพี ภายใต้โครงการฟาร์มมาตรฐานระบบกลุ่มครอบคลุมสินค้าพืช ปศุสัตว์และประมง
นอกจากนี้ยังมี ยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดสินค้าคุณภาพ มุ่งแก้ไขปัญหาคุณภาพ มาตรฐาน การแปรรูป ตลอดจนรับรองด้านตลาดหรือแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานหรือ สินค้า Q เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตและขยายช่องทางจำหน่ายสินค้า
ยุทธศาสตร์สร้างระบบอาหารศึกษาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านมาตรฐาน มุ่งสร้างศักยภาพและยกระดับความรู้เรื่องอาหารหรืออาหารศึกษาและความรู้ เกี่ยวกับการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร อย่างปลอดภัยแก่ผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร เพื่อวางรากฐานเกี่ยวกับคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหารอย่างเป็นระบบ
สุดท้าย คือ ยุทธศาสตร์สร้างความมั่นใจในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของไทย มุ่งพัฒนาระบบการผลิตและการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และระบบการตามสอบหรือระบบตรวจสอบย้อนกลับอย่างแพร่หลายมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งจะทำให้ตรวจสอบได้เมื่อสินค้ามีปัญหา เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์มาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรฯ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารทั้งการมีอาหารอย่างเพียงพอและมีมาตรฐานความปลอดภัย อันนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าเกษตรของไทย พร้อมเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยผลักดันส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยเพิ่ม สูงขึ้นในอนาคต.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=34752
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า