พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในปริมาณสูงกว่าระดับเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 52
พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในปริมาณสูงกว่าระดับเศรษฐกิจ
ศูนย์ปฏิบัติการติดตามสถานการณ์ข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ศัตรูข้าวว่า ได้ตรวจพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในปริมาณสูงกว่าระดับเศรษฐกิจคือมากกว่า 10 ตัวต่อต้น ที่หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 5 ต.ศีรษะกระบือ อ.องครักษ์ จ.นครนายก พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่
เบื้องต้นศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีซึ่งดูแลพื้นที่ดังกล่าวได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้พบว่าเกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “พันธุ์เบอร์ 17” เป็นพันธุ์ที่ทนต่ออากาศหนาว ให้ผลผลิตต่อไร่สูงจึงเป็นที่นิยมของเกษตรกร อย่างไรก็ตามกรมการข้าวมีความเป็นห่วงเกษตรกรโดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้เคียงบริเวณดังกล่าว เพราะเมื่อปี 2546-2547 ได้เคยมีการระบาดอย่างรุนแรงในพื้นที่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้นจึงขอเตือนเกษตรกรให้เตรียมเฝ้าระวังการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าวโดยการดูดกินบริเวณโคนต้นข้าวเหนือน้ำ เมื่อมีจำนวนมากกว่า 5-10 ตัว ต้นข้าวจะมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อม มักพบระบาดในระยะข้าวแตกกอถึงออกรวง โดยเฉพาะนาข้าวที่มีการปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอ
กรมการข้าวแนะนำข้อควรปฏิบัติสำหรับเกษตรกร เพื่อแก้ปัญหาและป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลว่า ในแหล่งที่ควบคุมน้ำได้ ไม่ขังน้ำในนาตลอดเวลา ปล่อยให้มีน้ำพอดินเปียก จะช่วยลดความรุนแรงของการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ไม่ใช้สารฆ่าแมลงโดยเฉพาะหลังหว่านข้าวแล้ว 40 วัน ดังต่อไปนี้ สารแอลฟาไซเพอร์มิทริน แลมบ์ดาไซฮาโลทริน ไซเพอร์มิทริน ไซแฮโลทริน เดลทาเมทริน เอสเฟนแวเลอเรตเพอร์มิทรินไซฟลูทริน เบต้าไซฟลูทริน ไบเฟน ทริน ไตรอะโซฟอส ไซยาโนเฟนฟอส ไอโซซาไทออน ไฟริดาเฟนไทออน ควินาลฟอส และ เตตระคลอร์วินฟอส หรือ สารผสมกับสารแอลฟาไซเพอร์มิทริน แลมบ์ดาไซฮาโลทริน ไซเพอร์มิทริน ไซแฮโลทริน เดลทาเมทริน เอสเฟนแวเลอเรตเพอร์มิทริน ไซฟลูทริน เบต้าไซฟลูทริน ไบเฟนทริน
หมั่นตรวจแปลงนาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยเดินเป็นรูปกากบาท และสุ่มนับต้นข้าว กากบาทละ 10 จุด จำนวน 20 จุดต่อกระทงนา หากพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากกว่า 10 ตัวต่อจุดสำรวจ หรือมากกว่า 1 ตัวต่อ 1 ต้น ให้ใช้สารฆ่าแมลงได้ หากเกษตรกรสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยงานของกรมการข้าว สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=189961&NewsType=1&Template=1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า